ญี่ปุ่นเปิดตัวมาสคอต “โอลิมปิก 2020”

ญี่ปุ่นเปิดตัวมาสคอต “โอลิมปิก 2020”

1519800196_72769_106292_1704_s

 

            ที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เปิดตัว 2 มาสคอตประจำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2020 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า โดยใช้ชื่อ “มิไรโตวะ” และ “โซเมอิตี้”ทางการญี่ปุ่นเปิดตัวมาสคอตประจำการแข่งขันโอลิมปิกปี 2020 บริเวณใจกลางกรุงโตเกียวในวันนี้ โดยมาสคอตสีฟ้ามีชื่อว่า “มิไรโตวะ” ส่วนมาสคอตสีชมพูที่เป็นมาสคอตของการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกมีชื่อว่า “โซเมอิตี้”

          มิไรโตวะเกิดจากการผสมคำภาษาญี่ปุ่นสองคำที่แปลว่าอนาคตกับนิรันดร์กาล ในขณะที่โซเมอิตี้มาจากคำว่า โซเมอิโยชิโนะ ซึ่งเป็นต้นซากุระสายพันธุ์ที่มีมากที่สุดในญี่ปุ่น มีดอกสีขาวหรือชมพูจางๆ และคำว่าโซเมอิโยชิโนะยังออกเสียงคล้ายกับ คำในภาษาอังกฤษว่า “โซ ไมท์ตี้” ที่แปลว่ายิ่งใหญ่ด้วย

CONTENT-850x550-4-2

                    มาสคอตทั้งสองตัวนี้ได้รับเลือกจากนักเรียนชั้นประถมทั่วประเทศ โดยเป็นความพยายามของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นความสนใจในหมู่นักเรียน และเพื่อแสดงถึงความโปร่งใส่ในกระบวนการคัดเลือก

                    ทีมงานที่ออกแบบมาสคอตสองตัวนี้ได้อธิบายว่า ความสัมพันธ์ของสองตัวนี้คือเป็นเพื่อนสนิทกัน โดยเจ้ามิไรโทวะจะให้กลิ่นอายของความดั้งเดิมสะท้อนวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกที่ทันสมัยผ่านรูปลักษณ์สุดล้ำ ส่วนเจ้าโซเมตี้จะให้ความรู้สึกสงบ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความแข็งแกร่ง ภายนอกที่สื่อถึงความสง่างามและมีหัวใจที่มีเมตตาและรักธรรมชาติ

            ความพิเศษของเจ้าสองตัวนี้คือมีพลังพิเศษเหมือนกับซูเปอร์ฮีโร่ โดยพลังพิเศษของมิไรโทวะคือ สามารถหายตัวไปที่ไหนก็ได้ในทันที และพลังพิเศษของโซเมตี้ คือ สามารถพูดคุยกับก้อนหินและสายลมได้ รวมทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ด้วยการมอง

COVER-1140x660-16

                  ซึ่งชื่อของเจ้ามาสคอต 2 ตัวนี้มาจากการโหวตของนักเรียนชาวญี่ปุ่นทั้งในประเทศและนอกประเทศ จำนวน 16,700 โรงเรียน โดยโหวตผ่านโปรแกรม Yoi Don! ซึ่งเป็นโปรแกรมการศึกษาของญี่ปุ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การให้เด็กนักเรียนโหวตชื่อของมาสคอตจะทำให้เขาได้มีส่วนร่วมในการจัดงานโอลิมปิกครั้งนี้การนำมาสคอตมาใช้ในกีฬาโอลิมปิกเริ่มขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1968 เพื่อเป็นตัวแทนนำเสนอภาพลักษณ์ของประเทศผู้เป็นเจ้าภาพ ซึ่งที่ผ่านมามาสคอตต่างก็มีรูปร่างที่หลากหลายตั้งแต่สุนัขไปจนถึงหมี หรือเทพเจ้าในตำนานกรีกไปจนถึงเอเลี่ยน ซึ่งลักษณะของมาสคอตแต่ละตัวขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของประเทศที่เป็นเจ้าภาพแต่ละปี

               โดยกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 29 นี้ ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม 2020 ส่วนกีฬาพาราลิมปิกจะเริ่มจัดช่วง 25 สิงหาคม ถึง 6 กันยายน 2020

ขอบคุณภาพจาก : https://thestandard.co/miraitowa-someity-tokyo-2020-olympic-games-mascots/   และ https://www.msn.com

โคโดคุชิ 孤独死 การตายโดยลำพังของคนญี่ปุ่น

ความหมายของ孤独死 (Kodokushi) คือ นิยามการเสียชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียว    “孤独Kodoku” หมายถึง ความโดดเดี่ยว ส่วนคำว่า “死Shi” แปลว่า ความตาย เมื่อคนญี่ปุ่นนำ 2 คำนี้มารวมกันมักใช้ในบริบทที่สื่อถึง “การเสียชีวิตในห้องพักที่ไม่มีใครรับรู้” และยังมีอีกคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือ孤立死 (Koritsushi) ที่มีความหมายว่า การตายโดยลำพังด้วยเช่นกัน ซึ่งคำว่า孤独死 (Kodokushi)

ตัวอย่างการตายอย่างโดดเดี่ยว

                  การตายโดยลำพังหรือการตายอย่างโดดเดี่ยว ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก ตัวอย่างเช่น

1046694-img.snhj5b.vnnw

กรณีที่ 1

               เมืองมัตสึโดะ จังหวัดชิบะ เมื่อปี 2544 ที่เกิดปัญหาว่ามีคนเสียชีวิตและไม่มีใครพบศพเลยเป็นเวลา 3 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด ซึ่งตอนที่พบนั้นก็เหลือแต่โครงกระดูกแล้ว

กรณีที่ 2

   นายฮิโรอากิ ชายวัย 54 ปี ที่ถูกพบเป็นศพในอพาร์ทเมนท์หลังจากที่เสียชีวิตมานานกว่า 4 เดือน รอบๆ ห้องเต็มไปด้วยกองขยะ ถ้วยบะหมี่สำเร็จรูป กระป๋องเครื่องดื่ม หนังสือพิมพ์เก่าๆ ก้นบุหรี่ และฟูกที่นอนอับๆ ซึ่งอดีตนายฮิโรอากิเคยเป็นวิศวกรทำงานบริษัทใหญ่ๆ แต่ก็เป็นเพียงพนักงานจ้างตามสัญญาทำให้ไม่มีเงินใช้ยามชราและเขาก็หย่ากับภรรยามาหลายปีจึงต้องอาศัยอยู่คนเดียวในอพาร์ทเมนท์เก่าๆ มีการสันนิษฐานว่าผู้เสียชีวิตอาจจะป่วยเป็นโรคตับ เนื่องจากพบกระป๋องเบียร์และบุหรี่เป็นจำนวนมากภายในห้องเช่า

            นอกจากการตายโดยลำพังแล้วนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เหล่านี้คือ อาชีพการรับจ้างทำความสะอาดห้องที่มีคนตาย โดยมีบริษัทเกิดขึ้นมามากมายหลายบริษัท มีเครื่องมือและขั้นตอนการทำความสะอาดที่ต้องมีขั้นตอนการเตรียมการและความชำนาญพอสมควร 

 

thumb_59344_media_image_1144x724

 

                ถึงแม้อาจจะดูเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากในประเทศไทย แต่ก็ไม่อยากให้เพื่อนๆละเลย การให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุในครอบครัวนะคะ  และสำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีแผนไปไหนในช่วงสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายนนี้ เป็นวันครอบครัว แอมคลับก็ขอเชิญชวนทุกท่านพาครอบครัวที่คุณรักไปเที่ยวกับเรานะคะ 

ขอขอบคุณบทความวิชาการโคโดคุชิการตายโดยลำพังของคนญี่ปุ่น ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ